Factor Investing

เวลาพูดถึง Passive Investing เรามักคิดถึงการลงทุนในกองทุนรวมดัชนี (Index Fund) แต่ในโลกของ Passive Investing เป็นอะไรที่กว้างกว่านั้น

ข้อดีของ Index Fund คือ การกระจายหุ้นในระดับสูงสุด ซึ่งการกระจายหุ้นของ “ของฟรี” อันเดียวที่จะคงเหลืออยู่ในโลกการเงินยุคอนาคต แต่โลกแห่งความเป็นจริง การกระจายหุ้นที่มากจนเกินไป ก่อให้เกิด ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ได้จากการกระจายความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมซื้อขายและความยุ่งยากในการจัดการที่เพิ่มขึ้น

มีการวิจัยจำนวนมหาศาลที่พบว่า ถ้ากรองหุ้นในตลาดด้วยลักษณะร่วมกันง่ายๆ บางอย่าง (Factor) เช่น พีอีต่ำ มีโมเนต้ม เป็นต้น แล้วคัดเฉพาะหุ้นที่เขาเกณฑ์เหล่านั้นมาจัดทำเป็นดัชนีย่อยๆ แล้วลงทุนตามดัชนีย่อยนั้นแทน พบว่า สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีตลาดอย่างต่อเนื่องได้ เรียกว่าเป็น market bias (abnormaly) บางอย่างที่กี่ปีกี่ชาติก็ยังไม่ถูกทำให้หายไป จึงเป็นที่มาของคำว่า Factor Investing ซึ่งเป็นการลงทุนในดัชนีที่สร้างขึ้นจาก Factor เหล่านี้

ในตลาดหุ้นสหรัฐ มีการพบว่า Factor ที่ชนะตลาดได้ต่อเนื่อง (ทดสอบด้วยการทำ Back test)  มีประมาณ 6 ตัว ตัวที่เป็นที่รู้จักมากได้แก่ พีอีต่ำ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดได้ประมาณ 2% ต่อปี ในระยะยาวๆ อีกตัวคือ โมเมนตัม กล่าวคือ หุ้นที่มีโมเมนตัมในช่วงที่ผ่านมา จะให้ผลตอบแทนในระยะสั้นถึงกลางได้สูงกว่าตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แม้ว่าส่วนต่างที่ชนะตลาดได้จะไม่มากนัก แต่ถ้าลงทุนต่อเนื่องไปในระยะยาวย่อมคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนในดัชนีตลาดปกติ เป็นของฟรีที่ไม่มีเหตุผลที่จะไม่เอา

อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ Factor Investing ก็มีข้อที่ควรระวังด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้า Factor ที่เราเลือกใช้ทำให้เกิดหุ้นที่จะมาสร้างดัชนีมีจำนวนที่น้อยเกินไป เช่น เหลือแค่สี่ห้าตัว ก็อาจเป็นการกระจายที่น้อยเกินไป ทำให้เกิด large deviation จาก expected returns ได้ หรือหุ้นเหล่านั้นบางตัวอาจมีโวลุ่มต่ำเกินไป ถ้าพอร์ตเราใหญ่มาก ก็จะมีปัญหา liquidity ได้ด้วย ดังนั้น Factor ที่ใช้ควรก่อให้เกิดจำนวนหุ้นที่จะลงทุนมากในระดับหนึ่งด้วย เช่น  10 ตัว เป็นต้น

อีกประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าหลาย  Factor จะชนะตลาดได้ซ้ำๆ กันหลายๆ ปี แต่ก็ยังไม่เคยพบว่ามี Factor ใด ที่ชนะตลาดได้ทุกปีที่มีสถิติให้ทำการทดสอบได้ เพราะตลาดหุ้นจะมีบางยุคบางสมัยที่มีลักษณะเฉพาะตัวบางอย่างมากๆ ที่ทำให้ Factor บางตัว ไม่ทำงาน เช่น ในยุคของ Great Moderation หุ้นพีอีต่ำจะให้ผลตอบแทนแพ้ตลาดได้ เพราะตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นที่ยาวนานมากๆ ทำให้หุ้นพีอีสูงให้ผลตอบแทนดีเป็นพิเศษ หรือหุ้นโมเมนตัมก็มักจะมาตายเอาในปีที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น การเทใจให้ Factor ใดอันหนึ่งแบบเต็มร้อย จึงอาจไม่ปลอดภัยมากพอ โดยเฉพาะพอร์ตที่จะลงทุนยาวนานมากๆ จนสภาวะทางมหภาคของประเทศเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ทำให้เกิดแนวโน้มการลงทุนใน multi-factor นั่นคือ เลือก Factor มากกว่าหนึ่งตัวมาใช้ในการจัดทำดัชนี

ประการสุดท้าย ในการลงทุนแบบ Factor Investing ควรมีการทำ Port Rebalancing เป็นระยะๆ ด้วย ซึ่งก็คือการอัพเดทรายชื่อหุ้นใหม่ โดยใช้ Factor เดิม แล้วเปลี่ยนรายชื่อหุ้นที่ลงทุน เพราะหุ้นบางตัวอาจมีลักษณะที่หลุดออกจากโผไปนานแล้ว แต่เราก็ยังลงทุนอยู่ ส่วนช่วงห่างในการทำ Rebalance จะเป็นทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกปีนั้น ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก (ที่จริง นานหน่อยน่าจะดีกว่าเพราะว่าไม่ยุ่งยาก)

7 Replies to “Factor Investing”

  1. ในส่วน momentum ที่ใช้เป็น factor หนึ่งนั้นใช่ momentum indicator ของ technical analysis ที่ว่าหรือไม่ครับ

    “Market momentum is measured by continually taking price differences for a fixed time interval. To construct a 10-day momentum line, simply subtract the closing price 10 days ago from the last closing price. This positive or negative value is then plotted around a zero line. The formula for momentum is:

    M = V – Vx

    V is the latest price, and Vx is the closing price x number of days ago.”

    Read more: Momentum And The Relative Strength Index | Investopedia http://www.investopedia.com/articles/technical/03/070203.asp#ixzz4MbZ7gwZq
    Follow us: Investopedia on Facebook

  2. ใช่ครับ แต่รายละเอียดพารามิเตอร์ต่างๆ อาจจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่ที่ผู้วิจัยใช้แล้วพบว่าชนะตลาดได้

  3. คุณโจ๊กครับ ผมพบข้อความนี้ ที่เข้าใจว่าเกิดจากพิสูจน์อักษรพลาด “จะให้ผลตอบแทนไม่ระยะสั้นถึงกลางได้สูงกว่าตลาด” ต้องอ่านทวนหลายครั้งถึงเข้าใ่จ ว่าน่าจะเป็นคำว่า “ใน” แทนคำว่า “ไม่”

  4. ในตลาดหุ้นสหรัฐ มีการพบว่า Factor ที่ชนะตลาดได้ต่อเนื่อง (ทดสอบด้วยการทำ Back test) มีประมาณ 6 ตัว

    อยากทราบว่า 6 ตัว ประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้างเหรอครับ ขอบคุณครับ

    1. ปํญหาคือผมดันจำไม่ได้แล้ว แต่คุ้นว่าอ่านมาจากหนังสือ the incrediably shrinking alpha

      และแน่นอนว่า พีอีต่ำ และโมเมนตัน เป็นสองในหกอันนั้นนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *